วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในหัวข้อ เปลวไฟลอยน้ำ

สิ่งที่ต้องใช้ 
  • เทียนไข
  • แก้วน้ำทรงสูง
  • หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็ก
วิธีทดลอง
  • เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว
  • นำหมุดมาปักที่ฐานเทียนไข (ด้านป้าน)
  • นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำแล้วจุดเทียน
ผลการทดลอง
  •  เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ



วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
              ได้รับความรู้จากการนำเสนอการสรุปวิจัยและสรุปวิดีโอโทรทัศน์ครูจากเพื่อนๆและการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ต่างๆมานำเสนอและจัดหมวดหมู่ในเรื่อง  ลม,อากาศ,เสียง,แรงโน้มถ่วง,แสง,น้ำ   จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ทดลองทำและการสังเกตเพื่อค้นหาต้นเหตุในเรื่องๆนั้นๆ มีอุปกรณ์ ดังนี้
   
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
   1.น้ำดื่ม                  2.น้ำแดง    
   3.กรวย                   4.เกลือทำไอศกรีม
   5.ยางรัดของ           6.ทัพพี
   7.ถุงร้อนเล็ก           8.น้ำแข็ง
ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ
     1.ผสมน้ำแดงกับน้ำเปล่า  
 2.กรอกน้ำแดงใส่ถุงร้อนเล็ก
 3.มัดปากถุงให้เรียบร้อย
 4.จากนั้นนำไปวางลงหม้อที่มีน้ำแข็งกับเกลือทำไอศกรีมผสมคุกเค้ากันแล้ว  โดยเพื่อนจะใช้วิธีการคนระหว่างถุงน้ำแดงกับเกลือคุกน้ำแข็ง หมุนหม้อไปมา  เพื่อทำให้เกิดความเย็นได้ทั่วถึงกับถุงน้ำแดง จะทำให้ถุงที่จุน้ำแดงแข็งได้ไวกว่าแช่ตู้เย็น  มีลักษณะดังนี้
จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า  
              
            การแข็งตัวซึ่งช่วงนี้อุณหภูมิของน้ำจะคงที่ตลอด แต่หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำแข็งจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งลงไปจนเท่ากับอุณหภูมิของช่องแช่แข็ง แต่ทว่าบางครั้งน้ำอาจคงสภาพเป็นของเหลวได้โดยไม่เกิดการจับตัวแข็งเป็นน้ำแข็งแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิติดลบ ซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้น้ำหรือของเหลวสามารถอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้โดยไม่กลายเป็นของแข็งคือ น้ำหรือของเหลวนั้นต้องมีความบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีฝุ่น ผง ตะกอนใด ๆ ที่จะทำให้เกิดผลึกได้ รวมถึงผิวของภาชนะที่ใช้บรรจุก็ต้องมีผิวเรียบ สะอาดไม่มีฝุ่น ผงตะกอนติดอยู่ด้วยเช่นกัน 

การประเมิน
การประเมินตนเอง
       -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน
       -แต่งกายเรียบร้อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมินเพื่อน
       -เพื่อนมีการแต่งกายเรียบร้อย  แต่มีผู้ที่แต่งชุดนักศึกษา 1 คน
       -มีการตั้งใจฟังอาจารย์ได้เป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

การประเมินผู้สอน
       -อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผนการสอนและการนำเสนอที่ถูกต้องได้ดี
       -อาจารย์แต่กายสุภาพ เรียบร้อย  เข้าสอนตรงเวลา


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               ได้รับความรู้เกี่ยวกับแผนการสอน และการทำวอฟเฟิลเพื่อนักศึกษาจะนำความรู้เหล่านี้ไปสอนได้จริง เป็นการทำCooking ที่มีขั้นตอนง่ายๆเหมาะสำหรับการสอนเด็กปฐมวัย

อุปกรณ์

การทำวอฟเฟิลมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  ผสมแป้ง เนย ไข่  น้ำ ลงในถ้วย 
ขั้นตอนที่ 2 ตีส่วนผสมให้เข้ากัน  
ขั้นตอนที่ 3  เทแป้งที่ตีเข้ากันแล้วเทลงในถ้วยเล็กให้เท่าๆกัน

ขั้นตอนที่ 4 ทาน้ำมันลงในเครื่องอบ  จากนั้นนำแป้งที่แบ่งไว้เทให้ทั่วเครื่องอบ รอประมาณ 5 นาทีก็จะได้วอฟเฟิลหอม กลมกล่อม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                 การทำCooking ของนักศึกษาในครั้งนี้  เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพครู ส่งเหริมให้นักศึกษาได้รู้จักการสอนเด็กปฐมวัยโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองจากวัสดุอุปกรณ์จริง  เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก  ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจง่าย ได้ทดลอง ได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่จากการเข้าครัวกับคุณแม่มาใช้ในการเรียนอีกด้วย

การประเมิน
การประเมินตนเอง
             -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย
             -ร่วมมือทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างให้ความสนใจ
             -จดบันทึกความรู้ที่ได้จากการอธิบายของอาจารย์ได้อย่างครบถ้วน

การประเมินเพื่อน
            -เพื่อนบางคนมาสาย  แต่กายไม่เข้ากับพวก  ส่วนใหญ่จะเรียบร้อยดี
            -ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อย่างตั้งใจ

การประเมินอาจารย์
            -อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีในการสอนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
            -อาจารย์มีความรับผิดชอบในการสอนได้ดีค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
            ความรู้จากการนำเสนอบทความงานวิจัย,การสรุปวิดีโอจากโทรทัศน์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำแผนการสอนเพิ่มเติม โดยการทำCooking การสอนในครั้งนี้จะยกตัวอย่างการทำ Cooking เรื่องหน่วยไข่  
            การเรียนแผนการสอนโดยการทำCooking จะแบ่งฐานออกเป็นทั้งหมด 5 ฐาน แต่ละฐานจะมีขั้นตอนต่างๆเพื่อนให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  จากนั้น แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกันและเข้าฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1 ตัดกระดาษเป็นวงกลม

ฐานที่ 2 หั่นผักเพื่อผสมไข่
ฐานที่ 3 ตอกไข่
ฐานที่ 4 ปรุงรส
ฐานที่ 5 ลงมือทำอาหาร


การประเมิน
ประเมินเพื่อน
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยมีเพื่อนบางคนใส่ชุดนักศึกษา
           -ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างตั้งใจ

การประเมินตนเอง
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
           -ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเรื่องแผนการสอน
           -ให้ความร่วมมืออย่างตั้งใจในการทำกิจกรรม

การประเมินอาจารย์
           -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา   แต่งกายเรียบร้อย
           -อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีเข้าใจง่าย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
              การนำเสนอแผนในแต่ละหน่วย และการเตรียมการพร้อมในการนำเสนอแผน โดยมีการปฏิบัติจริง  เพื่อนักศึกษาจะได้นำแผนที่จัดทำขึ้นมาใช้ในการสอน พร้อมมีอาจารย์คอยแนะนำ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอน กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายการนำเสนอแผนเรื่องดิน 

การนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ

การนำเสนอของหน่วยกล้วย


การนำเสนอของหน่วยไข่

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
         -ร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน
         -เพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนสายเพราะเตรียมของนำเสนอ
         -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองาน
         -ร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารย์สอนแผนการสอนได้อย่างเข้าใจนอกจากการสอนด้วยการอธิบายและยังมีการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ง่ายขึ้น




บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                    1.แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
                    2.กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอน
                    3.การทดลองวิทยาศาสตร์ให้ความรู้

กิจกรรมวิทยาศาสตร์วันนี้มีทั้งหมด 5 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1  
                   -อุปกรณ์ที่นักศึกษาได้มอบหมายให้นำมามี ดังนี้
การทดลอง
                 -นำเทียนมาจุดไฟ จากนั้นนำแก้วมาครอบใส่เทียนที่จุดไว้
ผลการทดลอง
                 -เมื่อเรานำแก้วครอบลงเทียนที่จุดไว้ ไฟที่จุดไว้จะค่อยๆดับไป

กิจกรรมที่ 2
          การทดลอง  นำกระดาษ A4 ฉีกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  จากนั้นพับกระดาษที่ฉีกแบ่งแล้วออกเป็นรูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้  จะมีลักษณะ ดังนี้
ผลการทดลองสรุปได้ว่า    เมื่อนำกระดาษที่พับเป็นกลีบดอกไปลอยน้ำก็จะทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ผลิออกมา

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา 
         -แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
         -หมั่นจดเนื้อหาในการสอน ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
         -เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมาก
         -แต่งการสุภาพเรียบร้อย
         -ให้ความร่วมมือกิจกรรมและการเรียนการสอนได้ดี

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารยืมีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
           1.การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ  ได้ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องลม  แรงดัน ฯลฯ
          2.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมายงานแผนการศึกษาแล้วจัดโต๊ะเป็นวงกลมมาช่วยกันระดมความคิด ในการคิดแผนการศึกษาให้มีความละเอียด ครบถ้วน  และสมบูรณ์แบบ
         3.อาจารย์อธิบายเรื่องการทำแผนการศึกษาให้ถูกต้องตามรูปแบบ  อธิบายการตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวข้อต่างๆ พร้อมบอกแนวทางในการทำแผนการศึกษา
        4.ได้ความรู้จากการระดมความคิดกับเพื่อนๆเรื่องทำแผนการศึกษาซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำแผนการศึกษาเรื่องดิน