วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในหัวข้อ เปลวไฟลอยน้ำ

สิ่งที่ต้องใช้ 
  • เทียนไข
  • แก้วน้ำทรงสูง
  • หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็ก
วิธีทดลอง
  • เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว
  • นำหมุดมาปักที่ฐานเทียนไข (ด้านป้าน)
  • นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำแล้วจุดเทียน
ผลการทดลอง
  •  เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ



วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
              ได้รับความรู้จากการนำเสนอการสรุปวิจัยและสรุปวิดีโอโทรทัศน์ครูจากเพื่อนๆและการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ต่างๆมานำเสนอและจัดหมวดหมู่ในเรื่อง  ลม,อากาศ,เสียง,แรงโน้มถ่วง,แสง,น้ำ   จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ทดลองทำและการสังเกตเพื่อค้นหาต้นเหตุในเรื่องๆนั้นๆ มีอุปกรณ์ ดังนี้
   
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
   1.น้ำดื่ม                  2.น้ำแดง    
   3.กรวย                   4.เกลือทำไอศกรีม
   5.ยางรัดของ           6.ทัพพี
   7.ถุงร้อนเล็ก           8.น้ำแข็ง
ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ
     1.ผสมน้ำแดงกับน้ำเปล่า  
 2.กรอกน้ำแดงใส่ถุงร้อนเล็ก
 3.มัดปากถุงให้เรียบร้อย
 4.จากนั้นนำไปวางลงหม้อที่มีน้ำแข็งกับเกลือทำไอศกรีมผสมคุกเค้ากันแล้ว  โดยเพื่อนจะใช้วิธีการคนระหว่างถุงน้ำแดงกับเกลือคุกน้ำแข็ง หมุนหม้อไปมา  เพื่อทำให้เกิดความเย็นได้ทั่วถึงกับถุงน้ำแดง จะทำให้ถุงที่จุน้ำแดงแข็งได้ไวกว่าแช่ตู้เย็น  มีลักษณะดังนี้
จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า  
              
            การแข็งตัวซึ่งช่วงนี้อุณหภูมิของน้ำจะคงที่ตลอด แต่หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำแข็งจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งลงไปจนเท่ากับอุณหภูมิของช่องแช่แข็ง แต่ทว่าบางครั้งน้ำอาจคงสภาพเป็นของเหลวได้โดยไม่เกิดการจับตัวแข็งเป็นน้ำแข็งแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิติดลบ ซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้น้ำหรือของเหลวสามารถอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้โดยไม่กลายเป็นของแข็งคือ น้ำหรือของเหลวนั้นต้องมีความบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีฝุ่น ผง ตะกอนใด ๆ ที่จะทำให้เกิดผลึกได้ รวมถึงผิวของภาชนะที่ใช้บรรจุก็ต้องมีผิวเรียบ สะอาดไม่มีฝุ่น ผงตะกอนติดอยู่ด้วยเช่นกัน 

การประเมิน
การประเมินตนเอง
       -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน
       -แต่งกายเรียบร้อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมินเพื่อน
       -เพื่อนมีการแต่งกายเรียบร้อย  แต่มีผู้ที่แต่งชุดนักศึกษา 1 คน
       -มีการตั้งใจฟังอาจารย์ได้เป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

การประเมินผู้สอน
       -อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผนการสอนและการนำเสนอที่ถูกต้องได้ดี
       -อาจารย์แต่กายสุภาพ เรียบร้อย  เข้าสอนตรงเวลา


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               ได้รับความรู้เกี่ยวกับแผนการสอน และการทำวอฟเฟิลเพื่อนักศึกษาจะนำความรู้เหล่านี้ไปสอนได้จริง เป็นการทำCooking ที่มีขั้นตอนง่ายๆเหมาะสำหรับการสอนเด็กปฐมวัย

อุปกรณ์

การทำวอฟเฟิลมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  ผสมแป้ง เนย ไข่  น้ำ ลงในถ้วย 
ขั้นตอนที่ 2 ตีส่วนผสมให้เข้ากัน  
ขั้นตอนที่ 3  เทแป้งที่ตีเข้ากันแล้วเทลงในถ้วยเล็กให้เท่าๆกัน

ขั้นตอนที่ 4 ทาน้ำมันลงในเครื่องอบ  จากนั้นนำแป้งที่แบ่งไว้เทให้ทั่วเครื่องอบ รอประมาณ 5 นาทีก็จะได้วอฟเฟิลหอม กลมกล่อม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                 การทำCooking ของนักศึกษาในครั้งนี้  เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพครู ส่งเหริมให้นักศึกษาได้รู้จักการสอนเด็กปฐมวัยโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองจากวัสดุอุปกรณ์จริง  เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก  ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจง่าย ได้ทดลอง ได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่จากการเข้าครัวกับคุณแม่มาใช้ในการเรียนอีกด้วย

การประเมิน
การประเมินตนเอง
             -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย
             -ร่วมมือทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างให้ความสนใจ
             -จดบันทึกความรู้ที่ได้จากการอธิบายของอาจารย์ได้อย่างครบถ้วน

การประเมินเพื่อน
            -เพื่อนบางคนมาสาย  แต่กายไม่เข้ากับพวก  ส่วนใหญ่จะเรียบร้อยดี
            -ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อย่างตั้งใจ

การประเมินอาจารย์
            -อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีในการสอนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
            -อาจารย์มีความรับผิดชอบในการสอนได้ดีค่ะ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
            ความรู้จากการนำเสนอบทความงานวิจัย,การสรุปวิดีโอจากโทรทัศน์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำแผนการสอนเพิ่มเติม โดยการทำCooking การสอนในครั้งนี้จะยกตัวอย่างการทำ Cooking เรื่องหน่วยไข่  
            การเรียนแผนการสอนโดยการทำCooking จะแบ่งฐานออกเป็นทั้งหมด 5 ฐาน แต่ละฐานจะมีขั้นตอนต่างๆเพื่อนให้นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  จากนั้น แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกันและเข้าฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1 ตัดกระดาษเป็นวงกลม

ฐานที่ 2 หั่นผักเพื่อผสมไข่
ฐานที่ 3 ตอกไข่
ฐานที่ 4 ปรุงรส
ฐานที่ 5 ลงมือทำอาหาร


การประเมิน
ประเมินเพื่อน
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยมีเพื่อนบางคนใส่ชุดนักศึกษา
           -ตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างตั้งใจ

การประเมินตนเอง
           -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
           -ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเรื่องแผนการสอน
           -ให้ความร่วมมืออย่างตั้งใจในการทำกิจกรรม

การประเมินอาจารย์
           -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา   แต่งกายเรียบร้อย
           -อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีเข้าใจง่าย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
              การนำเสนอแผนในแต่ละหน่วย และการเตรียมการพร้อมในการนำเสนอแผน โดยมีการปฏิบัติจริง  เพื่อนักศึกษาจะได้นำแผนที่จัดทำขึ้นมาใช้ในการสอน พร้อมมีอาจารย์คอยแนะนำ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอน กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายการนำเสนอแผนเรื่องดิน 

การนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ

การนำเสนอของหน่วยกล้วย


การนำเสนอของหน่วยไข่

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
         -ร่วมทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน
         -เพื่อนบางกลุ่มเข้าเรียนสายเพราะเตรียมของนำเสนอ
         -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองาน
         -ร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารย์สอนแผนการสอนได้อย่างเข้าใจนอกจากการสอนด้วยการอธิบายและยังมีการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ง่ายขึ้น




บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                    1.แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
                    2.กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาแผนการเรียนการสอน
                    3.การทดลองวิทยาศาสตร์ให้ความรู้

กิจกรรมวิทยาศาสตร์วันนี้มีทั้งหมด 5 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1  
                   -อุปกรณ์ที่นักศึกษาได้มอบหมายให้นำมามี ดังนี้
การทดลอง
                 -นำเทียนมาจุดไฟ จากนั้นนำแก้วมาครอบใส่เทียนที่จุดไว้
ผลการทดลอง
                 -เมื่อเรานำแก้วครอบลงเทียนที่จุดไว้ ไฟที่จุดไว้จะค่อยๆดับไป

กิจกรรมที่ 2
          การทดลอง  นำกระดาษ A4 ฉีกเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  จากนั้นพับกระดาษที่ฉีกแบ่งแล้วออกเป็นรูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้  จะมีลักษณะ ดังนี้
ผลการทดลองสรุปได้ว่า    เมื่อนำกระดาษที่พับเป็นกลีบดอกไปลอยน้ำก็จะทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ผลิออกมา

การประเมิน
ประเมินตนเอง
         -เข้าเรียนตรงเวลา 
         -แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
         -หมั่นจดเนื้อหาในการสอน ตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน
         -เข้าเรียนตรงเวลาส่วนมาก
         -แต่งการสุภาพเรียบร้อย
         -ให้ความร่วมมือกิจกรรมและการเรียนการสอนได้ดี

ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
         -อาจารยืมีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
           1.การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอ  ได้ความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องลม  แรงดัน ฯลฯ
          2.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่มที่ได้รับมอบหมายงานแผนการศึกษาแล้วจัดโต๊ะเป็นวงกลมมาช่วยกันระดมความคิด ในการคิดแผนการศึกษาให้มีความละเอียด ครบถ้วน  และสมบูรณ์แบบ
         3.อาจารย์อธิบายเรื่องการทำแผนการศึกษาให้ถูกต้องตามรูปแบบ  อธิบายการตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวข้อต่างๆ พร้อมบอกแนวทางในการทำแผนการศึกษา
        4.ได้ความรู้จากการระดมความคิดกับเพื่อนๆเรื่องทำแผนการศึกษาซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำแผนการศึกษาเรื่องดิน

สรุปบทความเรื่อง 
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

แหล่งอ้างอิง
            กุลยา  ตันติผลาชีวะ.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.  กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551
            http://www.karn.tv/c_science/tip_001.html#1
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

อาทิตย์นี้หนูไม่ได้มาเรียนค่ะ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.


เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการสอบกลางภาคไม่มีการเรียนการสอน
สรุปการบันทึกความรู้เรื่อง  อากาศมหัศจรรย์

ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศใต้เรียกว่า ลมใต้ เป็นต้น ในละติจูดต่ำไม่สามารถจะคำนวณหาความเร็วลม แต่ในละติจูดสูงสามารถคำนวณหาความเร็วลมได้

   บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere) และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

แรงดันอากาศ
       อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศ เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดัน รอบทิศทาง เรียก แรงดันอากาศ เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกัน อากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน เป็นต้นแรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทางความดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดัน
ประโยชน์ของความดันอากาศ
1. การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด
2. การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา
3. การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดัน
ภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้
4. การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า กาลักน้ำ
5. การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก เนื่องจากความดันอากาศภายนอกมากกว่าความดันอากาศภายในแป้นยาง จึงกดหัวแป้นยางให้ดูดติดกับกระจก
ตัวอย่างวีดิโอการทดลองเรื่องแรงดันอากาศ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.

อาจารย์มีกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
อุปกรณ์   1.กระดาษ 2.กรรไกร  3.คลิปหนีบกระดาษ
วิธีการทำ  1.ตัดกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวยาว ประมาน 10 เซนติเมตร 
                 2.ตัดครึ่งของกระดาษแนวยาว แล้วพับปักออก 2 ข้าง
                 3.พับส่วนที่ไม่ตัดครึ่งมานิดหน่อยแล้วนำคลิบหนีบกระดาษหนีบ
สังเกตการทดลอง
   สังเกตการโยนลูกหมุนของเพื่อนๆแต่ละคน  ลูกหมุนของแต่ละคนนั้นเมื่อโดนขึ้นพร้อมกันลูกหมุนจะตกลงมาไม่เหมือนกัน เพราะ มีการโยนระดับแรงไม่เท่ากัน และขนาดกระดาษ  การตัดกระดาษที่ไม่เท่ากัน ทำให้ผลของการโดนลูกหมุนขึ้นข้างบนลงสู่ที่ต่ำ ตกลงพื้นช้าหรือเร็วไม่เท่ากัน

กิจกรรมที่ 2 ของเล่นจากแกนทิชชู
อุปกรณ์  1.แกนกระดาษทิชชู่   2,ไหมพรม 3,กระดาษเหลือใช้  4.กรรไกร  5.กาว  สี
วิธีทำ  1.ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน  
 2.เจาะรูข้างแกนทิชชู่ 1 ท่อน 
 3.นำไหมพรมร้อยเข้ารูที่เจาะ วาดรูปใส่กระดาษแล้วแปะตกแต่ง
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคิดวิธีเล่น
การนำเสนอบทความ 5 คน
1.สะกิดให้ลูกคิดวิทยาศาสตร์
2.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
3.สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาจากเด็กปฐมวัย จากไก่และเป็ด
4.หลักสูตรปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

เทคนิคการสอนของอาจารย์
  อาจารย์ได้มรการสอนโดยให้อิสระในการเรียนรู้ของนักศึกษา ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามจินตนาการ  ไม่ปิดกลั้นความคิดเห็น  อาจารย์จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจมากขึ้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
    -แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมได้ดี
ประเมินเพื่อน 
    -แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินผู้สอน
    -อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ  ไม่ปิดกลั้นนักศึกษา มีเนื้อหาและกิจกรรมใหม่ๆมาสอนเสมอทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจและง่ายขึ้น




บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชาการจัดประสยการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
เวลา 8.30-12.20น.


เนื้อหาในการเรียนการสอน
    อาจารย์ได้อธิบายถึงเกณฑ์การให้คะแนนจากบล็อกมีดังนี้
 1.ความรับผิดชอบ
 2.เนื้อหารายละเอีอดครบถ้วน
 3.เนื้อหาเข้าใจง่ายสอดคล้องกับเด็กปฐมวัย
 4.บล็อกมีความเรียบร้อย มีองค์ประกอบของบล็อกครบถ้วน

การบรูณาการกิจกรรมต่างๆของเด็กปฐมวัยมีส่วยช่วยในพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  1.ด้านร่างกาย                  2.ด้านอารมณ์ 
  3.ด้านสังคม                     4.ด้านสติปัญญา
การบูรณาการจากกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        เด็กๆ ได้ร้องเพลง คิดท่าประกอบเพลง ทำท่าประกอบเพลง ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ประกอบ ด้วยเพลงเหาะไปบนฟ้า และเพลงปีเตอร์แพน ได้แปลงร่างเป็นตัวละครต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน และเคลื่อนไหวประกอบจังหวะตามลักษณะสำคัญของตัวละคร และได้ทำกิจกรรมตามผู้นำ (ผู้นำ
ผู้ตาม) โดยดัดแปลงมาจากตอนที่ตัวละครในเรื่องออกไปตามพวกอินเดียนแดง ฯลฯ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        เด็กๆ ได้เล่นสมมติจากสถานการณ์ในเรื่อง เช่น ตอนทิงเกอร์เบลอิจฉาเวนดี้ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม หรือตอนเวนดี้ไม่ยอมเป็นพวกโจรสลัด เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการปฏิเสธที่จะทำผิดตามที่ผู้อื่นสั่งให้ทำ ได้เล่นสมมติเป็นอินเดียนแดงทดลองทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสามัคคี นอกจากนี้ยังมีการเล่นละครสร้างสรรค์ 5 ฉากสำคัญ คือ เหาะไปบนฟ้า ตามผู้นำ ช่วยไทเกอร์ลิลลี่ ที่ซ่อนของปีเตอร์แพน และกลับบ้านกันโดยเด็กๆ จะต้องแบ่งหน้าที่กันทำ ด้นสดบทละคร และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฯลฯ

กิจกรรมสร้างสรรค์
        เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กเลือกทำเป็นรายบุคคล ได้แก่ พับหมวกปีเตอร์แพน ดัดลวดเพื่อทำปีกทิงเกอร์เบล วาดนางเงือก และตัดเพื่อนำไปไว้ที่ทะเลสาบนางเงือก พับจระเข้ตัวเล็ก ตัดรูปมือระบายสีเพื่อทำสายรุ้ง ตัดรูปดาวและปั๊มสีเพื่อทำดาวที่ลอนดอนยามค่ำคืน และทำสายคาดศีรษะของอินเดียนแดง ฯลฯ และได้ทำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ ได้แก่ การสร้างเนเวอร์แลนด์ซึ่งต้องทำดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ เรือโจรสลัด หินรูปหัวกะโหลก จระเข้ตัวใหญ่ และการสร้างลอนดอนซึ่งต้องทำภาพเมืองลอนดอนและหอนาฬิกา ฯลฯ
การนำเสนอบทความจากเพื่อนๆมี 5 เรื่อง  ดังนี้ 
    1.เกมการศึกษาเรื่องพืช
    2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
    3.แนวทางสอนคิดเติมวิทยาศาสตร์ให้เด็กอนุบาล
    4.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของปฐมวัย
    5.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆสำหรับคุณหนู

กิจกรรมเสรี 

        เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องแสงและเงาผ่านการทำกิจกรรมวาดเงาของตัวละคร เรียนรู้ประโยชน์ของแสงจากการส่องไฟฉายหาตัวละครในกล่องปริศนา ได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านการทำกลองของอินเดียนแดง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารผ่านการทำแพนเค้กรูปหน้าตัวละคร ได้เรียนรู้ภาษาผ่านตัวอักษรล่องหนของอินเดียนแดง ฯลฯ โดยครูจัดกิจกรรมเหล่านี้ตามความคิดของเด็กไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งในกิจกรรมเสรี

กิจกรรมกลางแจ้ง
        เด็กๆ ได้เล่นเดินเป็นแถวตามจังหวะมาร์ช โดยร้องเพลงตามผู้นำไปในที่ต่างๆ ในโรงเรียน โดยเล่นสมมติเป็นพวกอินเดียนแดง เด็กๆ เล่นเครื่องเล่นสนามโดยสมมติว่าเครื่องเล่นแต่ละอย่างเป็นสถานที่ต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน ฯลฯ

กิจกรรมเกมการศึกษา
        เด็กๆ ได้เล่นเกมจับคู่คำศัพท์ทั้งคำศัพท์เกี่ยวกับฉาก และตัวละคร ในหลายๆ ลักษณะ เช่น ทอยลูกเต๋าแล้วหาบัตรคำศัพท์ นำบัตรคำศัพท์ไปวางคู่กับสิ่งของจริงๆ ที่เด็กสร้างขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งเกมอื่นๆ เช่น ลากเส้นหาทางออกให้ทิงเกอร์เบล ฯลฯ
การประเมินตนเอง
   -เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย
   -ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน เก็บรายละเอียดเนื้อหามาพัฒนาตนเอง
การประเมินเพื่อน
   -การแต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
   -เพื่อนบางส่วนที่ไม่ตั้งใจ อีกกลุ่มมีการจดบันทึกเนื้อหาได้ละเอียด
การประเมินผู้สอน
   -อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
   -อาจารย์มีเนื้อกายและเทคนิคการสอนได้อย่างเข้าใจและมีประสิทธิภาพ